วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

การกลึงงาน

การกลึง
การกลึงจะทำได้ 3 วิธีทำ คือ
1.กลึงเรียวด้วย(COMPOUND REST )จะเป็นการกลึงโดยการหมุนปรับป้อมมีด (tool post) ให้เอียงไปตามองศาที่ต้องการนิยมใช้เครื่องกลึงเรียวสั้นๆ เท่านั้นเอง เนื่องจากเกลียวของ(COMPOUND SLIDE) มีช่วงระยะที่กำหนดไว้และความไม่สะดวกที่จะหมุนเดินป้อมมีดตัดงานจะเอียงองศาได้มาก
2.การกลึงเรียวด้วยการเยื้องศูนย์ท้ายแท่น (TAIL STOCK) เหมาะกับงานกลึงเรียวที่มีขนาดยาวๆแต่จะต้องเป็นอัตราเรียวน้อยๆ มีข้อเสียคือ การประคองของยันศูนย์จะบิดตัวไปทำให้เกิดความไม่แข็งแรง

3.การกลึงเรียว (ATTACHMENT) ทำงานได้กว้างกว่าการกลึงด้วย2วิธีที่กล่าวมา แต่ก็มีขิบเขตของการทำงานเช่นกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องกลึง

ดอกสว่าน

ดอกสว่าน (Drills)
รูปร่างลักษณะ และชื่อเรียก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกสว่านเจาะเหล็ก
มุมคมตัดดอกสว่าน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มุมตัดดอกสว่านเจาะเหล็ก
การลับดอกสว่าน ดอกสว่านมีความจำเป็นมากในงานช่าง ดั้งนั้นช่างทุกคนควรจะต้องลับดอกสว่านเป็น เพื่อที่จะได้ลับดอกสว่านได้เมื่อดอกสว่านไม่คม มุมจิกหรือมุมรวมปลายดอกสว่านที่ใช้งานทั่วๆไปจะมีมุมรวม 118 องศา


ตามภาพมุมคมตัดของดอกสว่านโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยมุมที่เกี่ยวข้องกับการตัดเฉือน เพื่อจะให้ผลดีต่อการตัดเฉือน คมตัดทำการตัดเฉือนได้ดีจะต้องมี (1) มุมคมตัด(Cutting Angle) (2) มุมหลบ(Lip Clearance Angle) (3) มุมคายเศษ (Rake Angle) (4) มุมจิก (Point Angle) แต่ละมุมจะมีความสำคัญต่อการทำงาน และมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
(1) มุมคมตัด(Cutting Angle) จะมีลักษณะเหมือนกับลิ่ม ทำหน้าที่ตัดเฉือนเนื้อโลหะ
(2) มุมหลบ(Lip Clearance Angle) ทำหน้าที่ลดการเสียดสี และลดแรงต้านบริเวณผิวหน้าของมุมจิกของดอกสว่าน ถ้าไม่มีมุมคายเศษ ดอกสว่านจะไม่สามารถตัดเฉือนผิวงานได้
(3) มุมคายเศษ (Rake Angle) ทำหน้าที่ให้เศษตัดเฉือนเคลื่อนที่คายออกจากผิวงานที่ถูกตัด

(4) มุมจิก (Point Angle) ในการตัดโลหะทั่วไปจะใช้มุมคมตัดนี้โต118 องศา สำหรับโลหะตัดเฉือนชิ้นงานซึ่งสว่านส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็กรอบสูง(High Speed Steel,HSS) มุมจิกมีผลต่อแรงกดเจาะ ถ้ามุมจิกโตมากแรงต้านเจาะก็มากขึ้นตามลำดับ แต่มุมจิกก็ช่วยในการนำศูนย์ในการเจาะงานในขณะเริ่มเจาะด้วย ขนาดของมุมจิกนี้จะขึ้นกับวัสดุงานที่นำมาเจาะ

เครื่องเจียระไนลับคมตัด

                                      เครื่องเจียระไนลับคมตัด
เครื่องเจียระไนลับคมตัดและงานลับเครื่องมือตัดเครื่องเจียระไนลับคมตัด เป็นเครื่องมือกล
พื้นฐานชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์มากสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้สำหรับลับคมตัดต่าง ๆ 
ของเครื่องมือตัด ได้แก่มีดกลึง มีดไส ดอกสว่าน และยังสามารถเจียระไนตกแต่งชิ้นงานต่าง ๆ ได้โดย
คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย
1. ชนิดของเครื่องเจียระไนลับคมตัด
เครื่องเจียระไนลับคมตัดโดยทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น ชนิด คือ เครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะและเครื่อง
เจียระไนแบบตั้งพื้น
         1.1 เครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะ (Bench Grinding) เครื่องเจียระไนชนิดนี้จะยึดติดอยู่กับโต๊ะเพื่อเพิ่ม
ความสูงและสะดวกในการใช้งานภาพ
         1.2  เครื่องเจียระไนแบบตั้งพื้น (Floor Grinding) เป็นเครื่องเจียระไนลับคมตัดที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบตั้งโต๊ะ มีส่วนที่เป็นฐานเครื่  อง เพื่อใช้ยึดติดกับพื้นทำให้เครื่องเจียระไนมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าเครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะ
2. ส่วนประกอบของเครื่องเจียระไนลับคมตัด
โดยทั่ว ๆ ไปของเครื่องเจียระไนตั้งพื้น จะมีส่วนประกอบดังนี้
มอเตอร์ (Motor)
ล้อหินเจียระไน (Grinding Wheel)
ฝาครอบล้อหิน (Wheel Guard)
แผ่นกระจกนิรภัย (Safety Glass)
แท่นรองรับงาน (Tool Rest)
ถังน้ำหล่อเย็น (Water Pot)
สวิตซ์เครื่อง (Switch)
ฐานเครื่อง (Base)


                 2.1 มอเตอร์ (Motor) เป็นส่วนสำคัญของเครื่องเจียระไนลับคมตัด ทำหน้าที่ส่งกำลังให้ล้อหินเจียระไนหมุน เครื่องเจียระไนลับคมตัดมีมอเตอร์เป็นรูปทรงกระบอกโดยปลายแกนเพลาทั้งสองข้างใช้จับยึดล้อหินเจียระไน มอเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ หรือ 380 โวลต์
         2.2 ล้อหินเจียระไน (Grinding Wheel) จะมีอยู่ ลักษณะ คือ ล้อหินเจียระไนชนิดหยาบและล้อหินเจียระไนชนิดละเอียด จะยึดติดอยู่อย่างละข้างของแกนมอเตอร์โดยจะมีล้อหินเจียระไนชนิดหยาบเพื่อเจียระไนหยาบช่วยให้เจียระไนได้เร็วขึ้น และอีกข้างหนึ่งจะใช้จับยึดล้อหินเจียระไนชนิดละเอียดเพื่อใช้เจียระไนผิวเรียบเพื่อเป็นการเจียระไนขั้นสุดท้าย ในการเลือกใช้ล้อหินเจียระไนจะต้องเลือกล้อหินเจียระไนให้ตรงกับชนิดวัสดุของมีดตัดที่จะนำมาลับเพราะวัสดุทำมีดตัดมีหลายประเภท เช่น มีดกลึงเหล็กรอบสูง (High Speed Steel) มีดกลึงคาร์ไบด์หรือมีดเล็บ (Carbide Tool)
การเลือกล้อหินเจียระไนลับคมตัดต้องคำนึงถึงขนาดของล้อหินเจียระไนด้วยว่าเครื่องเจียระไนระบุให้ใช้ล้อหินขนาดเท่าใด สิ่งที่ต้องทราบก็คือ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอกของล้อหินเจียระไน
ความหนาของล้อหินเจียระไน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูในของล้อหินเจียระไน
3. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจียระไนลับคมตัด
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการลับคมตัดของเครื่องมือตัดชนิดต่าง ๆ เช่น การลับมีดกลึง มีดไส และลับดอกสว่าน จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สำคัญเพิ่มเติมอีกดังนี้
                           3.1 ใบวัดมุม (Angle Protractor) เป็นเครื่องมือวัดมุมสำหรับวัดมุมของเครื่องมือวัด เช่น มีดกลึง มีดไส ใบวัดมุมสามารถวัดมุมได้ตั้งแต่ 0-180 องศา

4. ประโยชน์ของเครื่องเจียระไนลับคมตัด
เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรง ประหยัดเวลา สามารถใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น
          4.1 ใช้ลับคมตัดต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น ลับมีดกลึง ลับมีดไส ลับคมสกัด และลับคมมีดทั่วไป
          4.2 ใช้เจียระไนส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น รอยเชื่อม รอยเยิน ผิวชิ้นงานที่ไม่เรียบ
          4.3 เครื่องเจียระไนบางเครื่องอาจดัดแปลงเป็นเครื่องขัดผิวชิ้นงาน เช่น ขัดผิวชิ้นงานชุบเคลือบผิวโครเมียม โดยเปลี่ยนล้อหินเป็นล้อขดลวดหรือผ้าขัด

5. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไน
          5.1 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเจียระไนก่อนเปิดเครื่องใช้งานทุกครั้ง เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ล้อหินเจียระไน ฝาครอบล้อหินเจียระไน ฯลฯ เป็นการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานและมีความปลอดภัยหรือไม่
          5.2 การแต่งกายต้องรัดกุม ไม่รุ่มร่าม ไม่ผูกเน็กไท ผมไม่ยาวรุงรัง
          5.3 ต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
          5.4 จะต้องมีกระจกนิรภัยและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา
          5.5 ต้องปรับระยะห่างแท่นรองรับงานให้อยู่ในระยะห่างไม่เกิน มม. ป้องกันชิ้นงานหลุดเข้าไปขัดกับล้อหินเจียระไน ล้อหินเจียระไนอาจจะแตกกระเด็นโดยผู้ปฏิบัติงานได้
          5.6 เมื่อล้อหินเจียระไนทื่อหรือเกิดรอยบิ่น จะต้องทำการแต่งหน้าล้อหินเจียระไนใหม่ มิฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องออกแรงกดชิ้นงานที่นำมาลับมากเพราะหินทื่อ อาจจะทำให้พลาดไปโดนล้อหินเจียระไน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
          5.7 ห้ามใช้ผ้าจับเครื่องมือตัดหรือชิ้นงานที่นำมาเจียระไน เพราะผ้าอาจจะติดเข้าไปในล้อหินเจียระไนที่กำลังหมุน และทำให้มือติดเข้าไปด้วยทำให้เกิดอันตรายได้
          5.8 ในขณะเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องเจียระไนเพื่อปฏิบัติงานจะต้องระมัดระวังไม่ยืนตรงกับล้อหินเจียระไน เพราะในช่วงที่เริ่มเปิดเครื่องใหม่ ๆ ล้อหินเจียระไนจะมีแรงเหวี่ยงมาก ถ้าล้อหินเจียระไนเกิดรอยแตกร้าวอยู่ก่อนอาจกระเด็นออกมาถูกผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
          5.9 เครื่องเจียระไนทุกเครื่องจะต้องมีการติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ปฏิบัติงาน


การลับมีดกลึง
            ในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง

                   1.มุมต่าง ๆ ของมีดกลึง มุมต่าง ๆ ที่สำคัญของมีดกลึง มีดังต่อไปนี้

                     2.ขั้นตอนการลับมีดกลึงหรือไสตกร่อง การลับมีดไสตกร่องบ่าฉากจะมีลักษณะการทำงานทเหมือนกันกับการลับมีดกลึงตกร่อง


การลับมีดไส การลับมีดไสจะมีวิธีลับที่คล้าย ๆ กัน กับการลับมีดกลึง ต่างกันที่ค่าของมุมที่ลับ และขนาดมีดไสโดยทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดใหญ่กว่ามีดกลึง เพราะต้องการความแข็งแรงมากกว่า แต่ก็สามารถใช้ขนาดเท่ากันได้ มีดไสมีมุมต่าง ๆ ดังนี้
การบำรุงรักษาเครื่องเจียระไนลับคมตัด
เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเจียระไนลับคมตัดใช้ได้ยาวนานจึงมีวิธีการบำรุงรักษา ดังนี้
1) ก่อนใช้เครื่องเจียระไนทุกครั้ง ต้องตรวจดูความพร้อมของเครื่อง หลังใช้งานให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
2) ถ้ากระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติหรือไม่เต็มเฟสห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับคมตัด เพราะมอเตอร์จะไหม้
                ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือบ่อยๆคือผงเศษเหล็กหรือผงเศษหินกระเด็นเข้าตา นิ้วมือถูกล้อหินเจียระไนตัดขาด ล้อหินแตกกระเด็นมาถูกผู้ใช้ และไฟฟ้าดูดความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ดังนี้
               1) ตรวจสภาพเครื่องเจียระไนก่อนใช้งาน
2) ห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ในขณะที่สภาพร่างกายไม่พร้อม
3) การแต่งกายต้องรัดกุมขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
4) ต้องสวมแว่นตานิรภัย กันเศษเหล็กเข้าตา
5) การเจียรนัยชิ้นงาน ควรยืนอยู่ในท่าที่พร้อมปฏิบัติงาน
6) การลับชิ้นงาน กับล้อหินเจียระไนต้องจับชิ้นงานให้แน่น
7) การเจียระไนที่มีชิ้นงานขนาดเล็กให้จับชิ้นงานด้วยคีม
8) ขณะเจียระไนชิ้นงานควรจุ่มน้ำหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อลดความร้อน
9) การเจียระไนลับคมตัด ชิ้นงาน ห้ามใส่ถุงมือ เนื่องจากจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อนิ้วมือของผู้ใช้ ได้ง่าย
10) การเจียระไนลับคมตัด ห้ามใช้ผ้ารองรับชิ้นงาน
11) การลับคมตัดชิ้นงานห้ามใช้หินด้านข้างลับ เพราะอาจทำให้หินแตกได้
12) ไม่ควรก้มหน้า ใกล้กับล้อหินเจียระไนเกินไป
13) เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งานเครื่องเจียระไนลับคมตัด ต้องพึงระมัดระวังอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อยู่เสมอ

การลับมีดกลึงปาดหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


การลับมีดกลึง








การลับมีดกลึงในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง

มุมต่าง ๆ ของมีดกลึง มุมต่าง ๆ ที่สำคัญของมีดกลึง มีดังต่อไปนี้




1) มุมเอียงคมตัด เป็นมุมเอียงเพื่อลดแรงตัดเฉือน ขณะที่มีดกลึงตัดเฉือนชิ้นงาน
2) มุมหลบปลายมีด เป็นการลับหลบไม่ให้ปลายมีดเสียดสีกับผิวของชิ้นงาน
3) มุมหลบข้าง เป็นมุมหลบเพื่อไม่ให้ด้านข้างมีดสีกับชิ้นงานทำให้คมตัดเฉือนชิ้นงานได้
4) มุมรวมปลายมีด เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมเอียงคมตัดกับมุมหลบปลายมีด
5) มุมคาย เป็นมุมที่มีดกลึงคายเศษโลหะออกด้านข้าง ได้แก่ มุมคายของมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอก ส่วนมุมคายบน คือมุมคายที่อยู่ด้านบน แต่คายเศษโลหะเข้าหาลำตัดมีด ได้แก่ มีดกลึงตกร่อง มีดกัด เป็นต้น

2 ขั้นตอนการลับมีดกลึงหรือไสตกร่อง การลับมีดไสตกร่องบ่าฉากจะมีลักษณะการทำงานทเหมือนกันกับการลับมีดกลึงตกร่อง


1. ลับมุมด้านหน้ามีดให้ตั้งฉากกับลำตัวมีด พร้อมทั้งลับมุมหลบหน้ามีด เท่ากับ 8 องศา
2. ลับมุมหลบด้านข้างซ้าย เท่ากับ 1 องศา พร้อมทั้งลับมุมหลบข้างมีด เท่ากับ 2 องศา
3. ลับมุมหลบด้านข้างขวา เท่ากับ 1 องศา พร้อมทั้งลับมุมหลบข้างมีด เท่ากับ 2 องศา
4. ลับมุมคายบนเท่ากับ8 องศา

การลับมีดไส การลับมีดไสจะมีวิธีลับที่คล้าย ๆ กัน กับการลับมีดกลึง ต่างกันที่ค่าของมุมที่ลับ และขนาดมีดไสโดยทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดใหญ่กว่ามีดกลึง เพราะต้องการความแข็งแรงมากกว่า แต่ก็สามารถใช้ขนาดเท่ากันได้ มีดไสมีมุมต่าง ๆ ดังนี้

การบำรุงรักษาเครื่องเจียระไนลับคมตัด

เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเจียระไนลับคมตัดใช้ได้ยาวนานจึงมีวิธีการบำรุงรักษา ดังนี้




1) ก่อนใช้เครื่องเจียระไนทุกครั้ง ต้องตรวจดูความพร้อมของเครื่อง หลังใช้งานให้ทำความสะอาดทุกครั้ง 








2) ถ้ากระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติหรือไม่เต็มเฟสห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับคมตัด เพราะมอเตอร์จะไหม้ 








3) แต่งหน้าล้อหินเจียระไน ทั้ง 2 ข้าง ให้สมดุล จะทำให้เครื่องเจียระไน ไม่สั่นสะเทือน

4) ไม่ควร กดลับชิ้นงานเจียระไน กับผิวหน้าหินเจียรนัยมากเกินไป เพราะจะทำให้หินแตกได้




5) หมั่นตรวจตราความเรียบร้อยของเครื่องเจียระไนลับคมตัดทุกจุดให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ หากเห็นจุดชำรุดเสียหาย ควรตรวจซ่อมทันที




6) ตรวจดูล้อหินเจียระไนว่ามีรอยร้าวหรือรอยบิ่นหรือไม่ เมื่อล้อหินเจียระไนไม่คมควรทำการแต่งหน้าหินเจียระไนใหม่




7) ควรตรวจสอบระยะห่างของแท่นรองรับเป็นประจำ โดยควรให้มีระยะห่างมากที่สุดไม่เกิน 3. มิลลิเมตรเพื่อป้องกันชิ้นงานหรือเครื่องมือตัดหลุดเข้าไปในระหว่างล้อหิน




8) หลังเลิกใช้งานทุกครั้ง ควรปิดสวิตซ์และทำความสะอาดเครื่องเจียระไน สม่ำเสมอ

2.6 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือบ่อย ๆ คือ ผงเศษเหล็กหรือผงเศษหินกระเด็นเข้าตา นิ้วมือถูกล้อหินเจียระไนตัดขาด ล้อหินแตกกระเด็นมาถูกผู้ใช้ และไฟฟ้าดูดความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ดังนี้
1) ตรวจสภาพเครื่องเจียระไนก่อนใช้งาน
2) ห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ในขณะที่สภาพร่างกายไม่พร้อม
3) การแต่งกายต้องรัดกุมขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
4) ต้องสวมแว่นตานิรภัย กันเศษเหล็กเข้าตา
5) การเจียรนัยชิ้นงาน ควรยืนอยู่ในท่าที่พร้อมปฏิบัติงาน
6) การลับชิ้นงาน กับล้อหินเจียระไนต้องจับชิ้นงานให้แน่น
7) การเจียระไนที่มีชิ้นงานขนาดเล็กให้จับชิ้นงานด้วยคีม
8) ขณะเจียระไนชิ้นงานควรจุ่มน้ำหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อลดความร้อน
9) การเจียระไนลับคมตัด ชิ้นงาน ห้ามใส่ถุงมือ เนื่องจากจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อนิ้วมือของผู้ใช้ ได้ง่าย
10) การเจียระไนลับคมตัด ห้ามใช้ผ้ารองรับชิ้นงาน
11) การลับคมตัดชิ้นงานห้ามใช้หินด้านข้างลับ เพราะอาจทำให้หินแตกได้
12) ไม่ควรก้มหน้า ใกล้กับล้อหินเจียระไนเกินไป
13) เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งานเครื่องเจียระไนลับคมตัด ต้องพึงระมัดระวังอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อยู่เสมอ


ผู้ดูแล

ข้อมูลผู้ดูแล
ชื่อ นายคณันนท์   จันทร์อ่อน ชื่อเล่น  เนม  อายุ 28 ปี    
การศึกษา ปริญญาตรี วศ.บ วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมอุตสาหการ)
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ  สอนสาขาวิชา ช่างกลโรงงาน  สาขางาน  เครื่องมือกล 
ความสามารถ โปรแกรม Sollid Work,auto CAD,Mechanical desktop,Inverter,NX-7,Simulation CNC Program,New model Worker